วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

็How to .. วิธีทำกระเป๋าปากลวด

วิธีทำกระเป๋าปากลวดพร้อมด้วยวิธีการสร้างแพทฯ ให้เหมาะสมกับอะไหล่ปากลวดแต่ละขนาด


How to วิธีการทำกระเป๋าตุ๊บป่อง..น่ารักๆ พร้อมวิธีการสร้างแพทฯ ด้วยตนเอง
ไม่ยากอย่างที่คิดแต่ออกมาสวย


เทคนิคการต่อปลายกุ๊นเชือก

มาดูเทคนิคการต่อปลายกุ๊นเชือกแบบเนียนๆ กันคะ ^^


วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการแอพฯ น้องชินนี่แบบดั้งเดิม (แอพฯ สด) + แต่งหน้าทำผม



เทคนิคการแอพฯ น้องชินนี่ด้วยเทคนิคดั้งเดิม พร้อมกับวิธีการแต่งหน้าทำผมแบบง่ายๆ 



วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการสอยซ่อนด้ายแบบเนียนๆ งานควิลท์มือ

มาดูเทคนิคการสอยซ่อนด้ายแบบเนียนๆ กันคะ ^^


How to : กระเป๋าปิ๊กแป๊ก งานควิลท์มือ

วิธีทำกระเป๋าปิ๊กแป๊กน่ารักๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเองพร้อมกับเทคนิคการปรับแบบให้พอดีกับปากปิ๊กแป๊ก และการวาดแพทฯ สำหรับกระเป๋าน่ารัก น่ารักใบนี้คะ

How to :กระเป๋าปิ๊กแป๊ก


วิธีปรับ และวาดแพทฯ กระเป๋าปิ๊กแป๊ก

็How to : Key cover น้องซู

วิธีทำที่เก็บกุญแจน้องซู (Key cover) ที่สาวกงานควิลท์จะรู้จักกันเป็นอย่างดี..."น้องซู" สัญลักษณ์ของหญิงแม่บ้านใส่หมวกตลอดเวลาโดยไม่เคยเห็นใบหน้า  พร้อมสายคาดผ้ากันเปื้อนด้านหน้าในอิริยาบถต่างๆ ที่ถ่ายทอดออกมาในท่าทางหลากหลาย จนเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของหลายๆ คน

ลองมาติดตามชมวิธีการทำ Key cover สำหรับเก็บกุญแจไว้ใช้งานคะ ไม่ยาก. ^^


็How to : กระเป๋าสตางค์ใบสั้นน้องเหม่ง งานควิลท์มือ

วิธีทำกระเป๋าสตางค์ใบสั้นงานควิลท์มือ แบบง่ายๆ และน่ารักที่เอ๋นำเอามาฝากทุกคนคะ มี 2 ตอนจบ ^^
ลองหัดทำกันดูนะคะ

ตอนที่ 1



ตอนที่ 2

เทคนิคการต่อผ้าเฉลียงสำหรับทำกุ๊น

เทคนิคการต่อผ้าเฉลียงสำหรับทำกุ๊น

หากชิ้นงานที่เราต้องการกุ๊นขอบนั้นมีความยาวโดยรวมมากกว่าผ้าเฉลียงที่จะนำมาทำเป็นกุ๊น..เราสามารถนำผ้าเฉลียงมาต่อกันได้ง่ายด้วยเทคนิคตามคลิปวีดีโอคะ


เทคนิคการเนาโดยใช้ช้อนกาแฟช่วย

มาดูเทคนิคการใช้ช้อนกาแฟ ช่วยในขั้นตอนการเนาก่อนการควิลท์ ....ว่าแต่ช้อนกาแฟจะเอามาช่วยยังไงน้อ...ไปดูกันคะ ^^


เทคนิคการสอยงานแอพฯ

มาดูเทคนิคการสอยงานแอพฯ กันคะ

วิธีเลือกเข็มและด้ายที่จะนำมาใช้ในงานสอย .
วิธีการสอยเพื่อไม่ให้เห็นด้ายแบบเนียนๆ 



การเลือกใช้กรรไกรในงานผ้าที่แตกต่างกัน

กรรไกรที่เอ๋เลือกใช้สำหรับงานตัดใยอัดแผ่น มีสองอันคะ อันใหญ่เอาใช้เวลาตัดใยแผ่นเวลาวางแบบตัด ส่วนอันล่างคือกรรไกรเอาไว้ใช้เวลาเล็มใยให้ชิดรอยเย็บลักษณะกรรไกรทั้งสองอันจะคล้ายๆ กันแตกแตกกันแค่เพียงขนาด




- มีลักษณะอวบหนา..ช่วยเพิ่มแรงกดตัดลงบนใยแผน
- ปลายกรรไกรแหลมเพื่อให้ง่ายต่อการเล็มตัด หรือขลิบได้ตรงจุดอย่างที่ต้องการ 
-คมกรรไกรจะมีรอยหยักทำให้ตัดวัสดุหนาๆ ได้ดีโดยไม่ทื่อง่ายๆ


เทคนิคการแก้ปัญหาการสอยประกบชิ้นงานที่ยาวไม่เท่ากัน

เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะประสบปัญหาชิ้นส่วนที่จะนำมาสอยประกบกันนั้นมีความยาวไม่เท่ากัน..อันนี้จะเป็นเทคนิคการแก้ปัญหาโดยไม่ต้องเลาะคะ



สาปซิปกระเป๋าเป็นลูกคลื่น..เกิดจาก..

หลายๆ คนมักมีคำถามมาถามเอ๋ว่าทำไมเวลาที่เย็บซิปติดกับสาปซิปแล้วผ้าสาป หรือซิปมักเป็นลักษณะเหมือนลูกคลื่นไม่เรียบตรง?


นั่นเป็นเพราะขณะที่เราสอยซิปติดกับสาปนั้น เราจับผ้าและสอยไม่ถูกต้องนั่นเอง จากรูปจะเห็นได้ว่าเวลาสอยไม่ควรจับให้สาปและซิปอยู่ในลักษณะโค้งงอ ไม่ว่าจะโค้งลง หรืองอขึ้นเพราะเมื่อเวลานำไปประกอบกระเป๋า ผ้าสาปอาจเป็นลักษณะลูกคลื่นไม่เรียบตรง

วิธีที่ถูกต้องคือขณะสอยต้องจ้บผ้าสาป และซิปในแนวตรง เมื่อสอยเสร็จเราจะได้ชิ้นงานออกมาที่เรี่ยบตรงสวยคะ

เบสิคเบื้องต้นการใช้ไม้บรรทัดควิลท์วาดลายควิลท์

เคยสงสัยกันมั๊ยคะว่าทำไมบนไม้บรรทัดควิลท์มีเส้นเยอะแยะมากมายเต็มไปหมด และแต่ละเส้นเอาไว้ใช้งานยังไง อันนี้เป็นหนึ่งในประโยชน์ของไม้บรรทัดควิลท์ ..การวาดลายควิลท์แบบหลามตั



1.บนปลายไม้จะมีเส้นทำมุมสามเหลี่ยมอยู่นะคะ เราจะใช้เส้นสามเหลี่ยมนี้เส้นใดเส้นหนึ่ง

2.สำหรับการวาดเส้นควิลท์เส้นแรกลงบนชิ้นงาน ให้ทาบเส้นสามเหลี่ยมบนไม้บรรทัดให้เสมอกับขอบบริเวณที่เป็นแนวเส้นตรงบนชิ้นงานจากนั้นลากเส้นตามสันไม้บรรทัด

3.สำหรับเส้นควิลท์ถัดๆ ไป ให้ทาบเส้นระยะที่ต้องการลงบนเส้นแรกที่วาดไว้แล้ว เช่น ต้องการเส้นควิลท์กว้าง 35 mm ก็ทาบเส้น 35 mm (ระบุอยู่บนไม้บรรทัด) ให้ตรงกับเส้นแรกที่วาดจากนั้นก็ลากเส้นตามแนวสันไม้บรรทัด ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนทั่วชิ้นงาน

4.สำหรับการวาดเส้นตัดขวางเส้นแรก ...บนไม้บรรทัดจะมีเส้นขวางอยู่ ให้ทาบเส้นตัดขวางนี้ เส้นใดเส้นหนี่งให้ตรงกับเส้นควิลท์ที่เราวาดเอาไว้ จากนั้นก็ค่อยๆ ลากเส้นตามสันไม้บรรทัด เราก็จะได้ลายควิลท์ที่เป็นเส้นตัดขวางเส้นแรก สำหรับเส้นถัดๆ ไปให้ทำตามข้อ 3


เทคนิคการต่อผ้าเฉลียงสำหรับทำกุ๊นขอบชิ้นงาน

เทคนิควิธีการต่อผ้าเฉลียงสำหรับนำไปทำเป็นผ้ากุ๊นขอบชิ้นงานต่างๆ คะ



วิธีการต่อผ้ากุ๊น

1. หันผ้าหน้าผิดขึ้น (ด้านที่วาดเส้นเผื่อเย็บ) ปลายผ้าที่จะต่อกันต้องเฉียงไปในทางเดียวกันตามลูกศร และแนวเผื่อเย็บของทั้งสองชิ้นต้องอยู่ชิดกัน (หรือตรงข้ามกันก็ได้ แต่ต้องไม่อยู่ในแนวที่เหมือนกัน) 

2. ชิ้น B ให้หงายหน้าถูกขึ้น วางซ้อนกันตามรูปให้ได้มุม 90 องศา ลากเส้นตรงจากจุดตัดผ้าสองด้าน แล้วเย็บ

3. เมื่อเย็บเสร็จแล้วพลิกชิ้น A ขึ้นจะได้ตามรูป ขอบผ้ากุ๊นจะเป็นแนวเส้นตรงพอดี

4. และเมื่อพลิกผ้าหน้าผิดขึ้นก็จะเห็นว่าแนวเผื่อเย็บของทั้งสองชิ้นจะต่อเสมอเป็นแนวเดียวกันพอดี

เทคนิคการกุ๊นเข้ามุมโค้ง

เทคนิคการเข้าโค้งบริเวณมุม..จับขอบกุ๊นเสมอกับขอบชิ้นงานพอดี (B) และจะสังเกตุได้ว่าแนวเผื่อเย็บก็ต้องโค้งรับกับแนวขอบเช่นกัน (C) ที่สำคัญคือให้ใช้เข็มหมุดหัวเล็กตรึงยึดแนวบริเวณมุมให้เป็นแนวรัศมีดังรูปแล้วจึงค่อยเย็บตามเส้นเผื่อเย็บ (7 mm) เมื่อตลบสอยไปอีกด้าน เราจะได้มุมโค้งสวยได้รูปคะ


ใยอัดแผ่นชนิดต่างๆ ที่ใช้ในงานควิลท์

ใยโพลีอัดแผ่น..สำหรับทำชิ้นงานควิลท์ต่างๆ แบ่งเป็นหลายชนิดด้วยกัน ...แต่ที่นำมาให้ดูเป็นตัวอย่างของใยแผ่นที่นิยมทำกระเป๋ากันในปัจจุบัน




-สำหรับใยอัดแผ่นธรรมดาทั่วๆ ไป ทั้งสองด้านจะเหมือนกันคือมีผิวแผ่นใยจะมีลักษณะใยขาวๆ อัดแน่นเป็นแผ่น เวลาลูบจะนุ่มมือเล็กน้อย ใช้สำหรับทำกระเป๋าทั่วๆ ไป ความหนามีหลายชนาด 

- สำหรับใยอัดแผ่นแบบมีลามิเนต..ด้านนึงจะมีลักษณะเหมือนแบบแรก แต่อีกด้านจะมีแผ่นลามิเนตตามรูป...

- ใยสปริงหรือใยเด้งดึ๋ง เป็นใยอีกหนึ่งชนิดที่คนนิยมกันในปัจจุบันเพราะควิลท์ง่ายไม่ต้องออกแรงงัดมากเท่าใยชนิดอื่นที่มีความหนาเท่ากัน มีคุณสมบัติคืนรูป ไม่ห่อตัวสามารถทำไปทำได้ทั้งชิ้นงานเล็ก และชิ้นงานขนาดใหญ่

สำหรับขนาดความหนาของใยอัดแผ่นก็มีหลายขนาดด้วยกัน ..อันนี้เป็นเพียง 3 ขนาดตัวอย่างที่เอ๋นำมาเปรียบเทียบให้ดูถึงความแตกต่างในแต่ละขนาด จริงๆ มันมีความหนาตั้งแต่ 100 – 350 g +++


- ขนาด 350 g จะเป็นขนาดที่มีความหนาเป็นพิเศษใช้ทำชิ้นงานที่ต้องการความอยู่ทรงมาก แต่อาจควิลท์ยากนิดนึง 


- ขนาด 220 g -240 g จะเป็นขนาดที่นิยมใช้กันมากที่สุด เหมาะสำหรับนำมาทำชิ้นงานเล็กๆ จนถึงใหญ่ ควิลท์ไม่ยากมาก และหากต้องการให้อยู่ทรงก็เลือกใช้แบบที่มีลามิเนตด้วยก็ดีคะ


- ขนาด 120g จะค่อนข้างบางมากๆ ใช้สำหรับทำชิ้นงานที่ไม่ต้องการอยู่ทรง หรือใช้ทำกระเป๋าที่ต้องการให้มีรูปทรงพริ้วไหว หรือทิ้งตัว หรือนำมาทำชิ้นงานเล็กๆ อย่างเช่น key cover เป็นต้นคะ
นอกเหนือจากใยดังกล่าวข้างต้นแล้ว..ก็ยังมีใยกาวที่ใช้สำหรับนำมาทำกระเป๋าปิ๊กแป๊ก ใช้สำหรับรีดทับลงบนผ้า ไม่ต้องเนา หรือควิลท์

เทคนิคการเตรียมชิ้นส่วนผ้าสำหรับงานต่อ Patchwork

เป็นคนนึงคะที่ชอบใช้ปากกาเขียนผ้า (แบบลบออกด้วยน้ำหรือความร้อน) สำหรับการวาดแบบและการวาดลายควิลท์ ...แต่ขอบอกว่ามันไม่เหมาะเลยสำหรับงานต่อผ้าแบบ Patchwork .. เพราะอะไรนะเหรอ??

ก็เพราะว่างาน Patchwork ส่วนใหญ่ต้องเตรียมชิ้นส่วนเยอะมากในการต่อลาย หากเราใช้ปากกาวาดเตรียมไว้ ..ต่อได้ไม่ทันได้ถึงครึ่งลาย..รอยปากกาที่วาดไว้ก็จางหายไปซะแร่ะ

ฉะนั้นต้องเทคนิคนี้เลยคะ..เทคนิคที่ได้รับคำแนะนำมาจากครูญีปุ่น ซึ่งครูบอกไว้ว่าที่ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้ปากกาซักเท่าไหร่ส่วนใหญ่จะใช้ดินสอในการวาดแบบและวาดลายควิลท์มากกว่า ดินสอที่ใช้ก็คือดินสอธรรมดาทั่วๆ ไปนี่แหละคะ ...หากวาดลายควิลท์ก็จะวาดกันแบบเบาๆ ให้พอเห็นลาย จะไม่เข้มมากนัก

เอาล่ะ..มาดูเทคนิคการเตรียมชิ้นส่วนสำหรับการต่อผ้าดีกว่าคะ ^^




1. นำแบบมาทาบลงบนผ้าหน้าผิด...จากนั้นให้ใช้ปากกาหรือดินสอจุดมาร์คตรงมุมทุกมุม..อย่าลากวาดจุดชนกันเลยทันทีเพราะแรงกดขณะลากเส้นจะทำให้ผ้าขยับตัวไปมามุมผ้าจะเหลื่อมออกไปจากจุดเดิม..เมื่อชิ้นส่วนเหลื่อมไปแค่แม้แต่มิลเดียวก็จะส่งผลถึงลายต่อผ้าโดยรวมให้เบี้ยวได้คะ..นี่คือเทคนิคสำคัญที่ช่วยทำให้ได้ลายต่อผ้าแบบมุมเป๊ะๆ ^^

2. ใช้ดินสอกด หรือเหลาดินสอให้แหลม...ทาบไม้บรรทัดแล้ววาดเส้นตรงของแต่ละมุมให้เชื่อมต่อกัน ..แค่นี้เราก็จะได้ชิ้นส่วนผ้าต่อแบบเป๊ะสุดๆ

3. หลังจากนั้นจึงค่อยวาดเว้นระยะเผื่อเย็บ 7mm แล้วตัดชิ้นส่วนเตรียมไว้ รอยแบบก็จะไม่จางหายไป ..ต่อให้ดองงานไว้นานแค่ไหนลายวาดบนชิ้นส่วนก็ไม่หายเมื่อมีอารมณ์อยากต่อผ้าก็หยิบงานมาทำต่อได้โดยไม่กังวล ...และไม่ต้องกลัวว่าจะมองเห็นดินสอเลอะเทอะเมื่อต่อผ้าเสร็จ เพราะรอยวาดจะซ่อนอยู่ด้านในและต้องประกบ 3 ชั้นเวลาควิลท์ทำให้มองไม่เห็นรอยดินสออยู่แล้วคะ

จากนั้นค่อยนำชิ้นส่วนแต่ละชิ้นไปเย็บต่อเป็นลายต่างๆ และจากข้อ 1 นั่นเองถือเป็นเทคนิคนึงที่จะช่วนทำให้งานต่อผ้าออกมาได้มุมเป๊ะ เพราะแบบชิ้นส่วนวาดได้เป๊ะตั้งแต่แรก..แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอิงกับการเย็บต่อกันด้วยนะคะ เวลาประกบเย็บควรให้มุมผ้าตรงกันด้วย ^^

เทคนิคการกุ๊นขอบมุมแหลมให้สวยงาม

เทคนิคการกุ๊นชิ้นงานที่เป็นมุมแหลมให้ดูสวยงามเรียบร้อยคะ


เทคนิคการแอพฯ งานที่เป็นมุมแหลม

เทคนิคการแอพฯงานที่เป็นมุมแหลม ..อันนี้เป็นเทคนิคส่วนตัวเอ๋เอง หลายๆ ครั้งมักพบปัญหาว่าเวลาแอพฯ ชิ้นงานที่เป็นมุมแหลมๆ แบบนี้ทำได้ยากมากๆ ไม่นูนหนา ก็ผ้าหลุดรุ่ยไม่ได้รูปทรง เอ๋เลยลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ จนพบวิธีการนี้คะ



a วาดแนวแอพฯ ลงบนผ้าหน้าถูก บริเวณที่เป็นมุมแหลม ให้ตัดมุมทิ้งแต่อย่าให้ชิดติดกับมุม ให้เว้นห่างออกมาประมาณ 3 mm 

b พับปลายผ้าลง (ทางผ้าหน้าผิด)ให้ชนมุมพอด

c พับขอบทางซ้ายตามแนววาดทบไปด้านหลัง

d พับขอบทางขวาตามแนววาดทบไปด้านหลัง

e จากนั้นนำไปทาบวางบนชิ้นงานที่ต้องการแอพฯ และสอยตามแนววาด

f เมื่อสอยเสร็จเราจะได้งานแอพฯ ที่ทำมุมแหลมสวย ไม่นูนหนา และไม่หลุดรุ่ยคะ

เทคนิคการกลับผ้ามุม V ไม่ให้เกิดรอยรั้ง


เทคนิคการกลับมุม V ไม่ให้ผ้ารั้งตึง

เคยเป็นกันมั๊ยคะเวลาที่เราเย็บชิ้นงานที่เป็นมุมตัววีเวลากลับผ้าออกมาจะพบว่าบริเวณมุมตัวจะย่นนูนไม่ได้รูป



2 รูปบน..เป็นวิธีการที่ผิด ไม่ขลิบมุมก่อนกลับผ้า หรือขลิบน้อยเกินไปเมื่อกลับผ้าออกมาจะพบว่าตรงมุมเป็นรอยย่นไม่สวย

2 รูปล่าง..เป็นวิธีการที่ถูกต้อง ก่อนกลับผ้าให้ใช้ปลายกรรไกรขลิบมุมเข้าไปจนชิดรอยเย็บ (แต่ระวังอย่าให้ขลิบโดนด้าย) เมื่อกลับผ้าออกมา ตรงมุมจะสวยเข้ามุมได้รูป ไม่มีรอยย่นเลยคะ

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วิธีทำดอกแก้วจากผ้า

มาหัดทำดอกแก้วกันคะ ^^

ง่ายๆ ไม่ยาก..ทุกคนสามารถทำกันได้ ใช้เวลาไม่นาน..เรานำเศษผ้าชิ้นเล็กๆ ขนาดไม่ใหญ่มากนักมาพับแล้วเย็บตามขั้นตอนจากนั้นนำเป็นมัดรวบเป็นพวงสำหรับทำเป็นพวงกุญแจ หรือทำเป็นพวงดอกไม้ตกแต่งกระเป๋าแบบเก๋ๆ คะ

มาเริ่มกันเลย








มาทำดอกไม้ตกแต่งจากผ้ากันคะ ^^

มาทำดอกไม้ตกแต่งจากผ้ากันคะ ^^ 

เราสามารถใช้เศษผ้าเหลือๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ โดยการทำเป็นดอกไม้สำหรับตกแต่งเสื้อผ้า หรือชิ้นงานต่างๆ แบบง่ายๆ 

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมก็มีเศษผ้าต่างๆ และวัสดุสำหรับตัดเป็นแบบทำวงกลม เช่นพลาสติก ผ้ากาวแข็ง หรือกระดาษแข็งเป็นต้น...เรามาเริ่มกันเลยคะ ^^